วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

หอนาฬิกาบิ๊กเบน ( Bigben )

หอนาฬิกาบิ๊กเบน ( Bigben )




หอ นาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Clock Tower, Palace of Westminster) หรือรู้จักดีในชื่อ บิ๊กเบน เป็นหอนาฬิกาประจำพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นรัฐสภาอังกฤษตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ พระราชวัง หอนาฬิกานี้ถูกสร้างหลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2377 โดยชาลส์ แบร์รี เป็นผู้ออกแบบ หอนาฬิกามีความสูง 96.3 เมตร โดยที่ตัวนาฬิกาอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วย สถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (victorian gothic)

หลาย คนเข้าใจว่าบิกเบนเป็นชื่อหอนาฬิกาประจำรัฐสภาอังกฤษ แต่แท้ที่จริงแล้ว บิกเบนเป็นชื่อเล่นของระฆังใบใหญ่ที่สุด หนักถึง 13,760 กิโลกรัม ซึ่งแขวน ไว้บริเวณช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา ทั้งนี้มีระฆังรวมทั้งสิ้น 5 ใบ โดย 4 ใบจะถูกตีเป็นทำนอง ส่วนบิกเบนจะถูกตีบอกชั่วโมงตามตัวเลขที่เข็มสั้นชี้บนหน้าปัดนาฬิกา ทว่าคนส่วนใหญ่กลับใช้ชื่อบิกเบนเรียกตัวหอทั้งหมด


บาง ทีมักเรียกหอนาฬิกานี้ว่า หอเซนต์สตีเฟน (St. Stephen's Tower) หรือหอแห่งบิกเบน (Tower of Big Ben) ซึ่งที่จริงแล้วชื่อหอเซนต์สตีเฟนคือ ชื่อของหอในพระราชวังอีกหอหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นทางเข้าไปอภิปรายในสภา ปัจจุบันภายในหอนาฬิกาไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เว้นแต่สำหรับผู้ที่อาศัยใน ประเทศอังกฤษ จะต้องทำเรื่องขอเข้าชมผ่านสมาชิกรัฐสภาอังกฤษประจำท้องถิ่นของตน ถ้าเป็นเด็กต้องมีอายุเกิน 11 ปี จึงจะเข้าชมหอได้ สำหรับชาวต่างประเทศนั้นยังไม่อนุญาตให้ขึ้นไป


หอ นาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ มีความสูงทั้งหมด 96.3 เมตร โดยในช่วง 61 เมตรแรก เป็นอาคารก่อด้วยอิฐ บุด้วยหิน ส่วนที่สูงจากนั้นเป็น ยอดแหลมทำด้วยเหล็กหล่อ ตัวหอตั้งอยู่บนฐานกว้าง 15 เมตร ยาว 15 เมตร หนา 3 เมตร อยู่ใต้ดินลึก 7 เมตร ตัวหอทั้งหมดหนักโดยประมาณ 8,667 ตัน หน้าปัดนาฬิกาทั้งสี่ด้านอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร เนื่องจากสภาพดินในขณะที่มีการก่อสร้างหอ ทำให้ตัวหอค่อนข้างเอนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 220 มิลลิเมตร




หน้าปัดนาฬิกา


ครั้ง หนึ่ง หน้าปัดนาฬิกาของหอมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันถูกทำลายสถิติโดยหอนาฬิกาอัลเลน-แบร็ดเลย์ (Allen-Bradley Clock Tower) ที่รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ทว่าผู้สร้างหอนาฬิกาอัลเลน-แบร็ดเลย์มิได้จัดให้มีการตีระฆังหรือสายลวดบอก เวลา จึงทำให้หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ยังคงเป็น นาฬิกาสี่หน้าปัดที่มีการตีบอกเวลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก กลไกนาฬิกาภายในหอสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2397 แต่ตัวหอเสร็จในเวลา 4 ปีต่อมา


หน้าปัด นาฬิกาถูกออกแบบโดยออกุสตุส ปูจิน (Augustus Pugin) ตัวหน้าปัดทำด้วยโครงเหล็กกว้างและยาว 7 เมตร ประดับด้วยกระจก 576 ชิ้น เข็มสั้นมีความยาว 2.7 เมตร เข็มยาวมีความยาว 4.3 เมตร รอบ ๆ หน้าปัดประดับด้วยลายทองอย่างวิจิตร ใต้หน้าปัดสลักดุนเป็นข้อความภาษาละตินว่า DOMINESALVAM FAC REGINAM NOSTRAM VICTORIAM PRIMAM ซึ่งแปลว่า "โอ้ พระเจ้าข้า จงประทานความปลอดภัยให้พระนางวิกตอเรีย ด้วยเถิด"


นาฬิกา เริ่มเดินครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2402 ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพเยอรมันได้ทิ้งระเบิดทำลายรัฐสภาอังกฤษ และทำความเสียหายให้กับหน้าปัดด้านทิศตะวันตกเป็นอย่างมาก


ระฆัง "บิกเบน"


ระฆัง ที่แขวนไว้ในหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหาระฆัง (The Great Bell) โดยทำการหล่อครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2399 โดยวอร์เนอร์ออฟคริปเปิลเกต (Warner's of Cripplegate) หนัก 14.5 ตัน มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เบนจามิน ฮอลล์ (Benjamin Hall) เป็นแม่กองในการหล่อครั้งแรกนี้ จึงใช้ชื่อเล่นของเขาเป็นชื่อเล่นของระฆัง บางที่ก็ว่าระฆังอาจถูกตั้งชื่อหลังจากที่นักมวยรุ่นเฮฟวี่เวตชื่อ เบนจามิน เคานต์(Benjamin Caunt)


มหา ระฆังหรือบิกเบน เป็นระฆังหนึ่งในห้าใบที่แขวนไว้ในหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ เมื่อตีจะให้เสียงโน้ต "ลา" ส่วนระฆังอีกสี่ใบที่เหลือมีเสียงโน้ตซอลสูง ฟาสูง มี และที ตามลำดับ




ขณะ ที่หอนาฬิกายังสร้างไม่เสร็จ มหาระฆังถูกแขวนไว้ในพระราชอุทยานพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ แต่กลับแตกเมื่อถูกตีด้วยค้อนที่หนักเกินไป จึงให้หล่อใหม่ที่บริษัทระฆังไวต์แชพเพล (Whitechapel Bell Foundry) ครั้งนี้ระฆังหนัก 13.76 ตัน สูง 2.2 เมตร และกว้าง 2.6 เมตร มหาระฆังถูกนำขึ้นแขวนในห้องระฆังบริเวณช่องลมของตัวหอ เมื่อปี พ.ศ. 2446 พร้อมด้วยระฆังเล็ก ใช้เวลาทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง จึงสำเร็จ ต่อมาในเดือนกันยายนของปีถัดมา มหาระฆังก็ร้าว แต่ก็แก้ไขโดยการหมุนระฆังมิให้ส่วนที่ร้าวถูกตี และก็ไม่ได้ทำการซ่อมแซมมาจนถึงปัจจุบัน


ที่ หอนาฬิกามีการตีระฆังเล็กทุก ๆ 15 นาที เป็นทำนองระฆังแบบเวสต์มินสเตอร์ และจะตีด้วยทำนองที่ต่างกันเล็กน้อยทุก 15 นาที เมื่อครบหนึ่งชั่วโมงจะมีการตีระฆังเล็ก ตามด้วยเสียงของบิกเบนตามจำนวนเลขที่เข็มสั้นชี้ เมื่อได้ฟังแล้วก็จะเป็นที่จับใจยิ่งนัก จนกระทั่งเสียงนี้เป็นที่นิยม ทั้งนาฬิกาตั้งในบ้านและหอนาฬิกา เสียงของระฆังในหอนาฬิกาถูกนำออกอากาศทุกวัน ผ่านทางสถานีวิทยุบีบีซีช่อง 4 ก่อนข่าวภาคค่ำ (เวลา 18 นาฬิกา) และข่าวเที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่นประเทศอังกฤษ


สำหรับเสียงของระฆัง (เฉพาะเสียง ตีบอกเวลา 12:00 น. และ 24:00 น.)



ความเที่ยงตรง


นาฬิกา ประจำหอนั้นมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านความเที่ยงตรงโดยกลไก นาฬิกาถูกออกแบบโดยเอ็ดมุนด์ เบ็กเกตต์ เดนิสัน (EdmundBeckett Denison) และถูกสร้างขึ้นโดยเอ็ดเวิร์ด จอห์น เดนต์ (EdwardJohn Dent) กลไกของนาฬิกาถูกสร้างขึ้นก่อนตัวหอเสร็จถึง 4 ปี ทำให้เอ็ดมุนด์ เดนิสัน มีเวลาที่จะทดสอบความแม่นยำ ซึ่งแทนที่เขาจะใช้กลไกแบบลูกตุ้มแกว่งไม่หยุด(deadbeat escapement) ซึ่งสึกหรอง่าย เพราะลูกตุ้มยังแกว่งแม้เฟืองจะล็อกแล้ว แต่เขากลับใช้กลไกแบบอาศัยแรงโน้มถ่วง (gravity escapement)ประกอบด้วยลูกตุ้มและตัวขับลูกตุ้ม(escapement) บรรจุในกล่องกันลมอย่างดีและเก็บอยู่ที่ใต้ห้องนาฬิกา

จนทำให้นาฬิกามีความแม่นยำอย่างยิ่ง กลไกที่เป็นเฟืองของนาฬิกาทั้งหมดวางอยู่บนโต๊ะรองรับสีเขียวแก่ ที่ขอบโต๊ะจารึกข้อความด้วยลายทองว่า "THIS CLOCK WAS MADE IN THE YEAR OF OUR LORD 1854 BY FREDERICK DENT OF THE STRAND AND THE ROYAL EXCHANGE CLOCKMAKER TO THE QUEEN, FROM THE DESIGNS OF EDMUND BECKETT DENISON Q.C." แปลเป็นไทยได้ว่า " นาฬิกาเรือนนี้สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2397 (ค.ศ. 1854) โดยเฟรเดอริก เดนต์ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย โดยการออกแบบของเอ็ดมุนด์ เบ็กเกตต์ เดนิสัน"


ลูกตุ้ม นาฬิกาสามารถปรับตั้งได้เสมอโดยการใส่เหรียญเพนนีที่ลูกตุ้มของนาฬิกา เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งศูนย์กลางมวลของลูกตุ้ม ทำให้คาบการเคลื่อนที่เปลี่ยนถ้าใส่เหรียญลงไปนาฬิกาก็เดินช้าลง แต่ถ้าเอาออกก็จะเร็วขึ้น จนเกิดสำนวนอังกฤษว่าputting a penny on แปลเป็นสำนวนไทยว่า โอ้เอ้วิหารรายคือทำตัวโอ้เอ้ หรือทำให้ช้ายืดยาด

หอไอเฟล

===> หอไอเฟลสัญลักษณ์แห่งเมืองปารีส <===



ตลอดหลายยุคสมัย ผู้คนได้ท้ายทายข้อจำกัดทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม เพื่อความพยายามที่จะได้ใกล้คิดกับพระเจ้ามากขึ้น มีบางกลุ่มพยายามหาประโยชน์ใช้สอยจากหอคอยในการทำเสาอากาศ ภัตตาคาร แต่สิ่งดึงดูดใจที่แท้จริงกลับมาจากความคิดที่บริสุทธิ์มากกว่านั้น

หอคอยเป็นสิ่งที่แสดงถึงความทะเยอทยานของมนุษย์ และหอคอยที่โลกรักมากที่สุดคือ หอไอเฟล (Eiffel Tower) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นหอคอยที่มีความสูงเสียดฟ้า มีความงามสง่า รูปร่างอ่อนช้อย ซึ่งสะท้อนให้เห็นจิตวิญญาณของฝรั่งเศส หอไอเฟลได้รับการออกแบบและก่อสร้างในปี ค.ศ.1839 มันคือผลงานชิ้นเอกในการ -ฉลองการปฏิวัติฝรั่งเศสอันนอเลือดเมื่อ 100 ปีก่อนหน้า

14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 ท่ามกลางความต้องการที่จะปฏิวัติ ชาวปารีสได้เข้าโจมตีชนชั้นสูง บุกยึกคุกบัสติล ซึ่งมีผู้มีความคิดขัดแยงทางการเมืองถูกคุมขังเอาไว้ ผู้รัก-ชาติได้รวมตัวกันเพื่อต่อต้านชนชั้นปกครอง ซึ่งเป็นการสร้างพื้นฐานสำหรับการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยยุคใหม่

อีก 1 ศตวรรษหลังการปฏิวัติ ความภาคภูมิใจของฝรั่งเศสถูกบั่นทอนด้วย ความพ่ายแพ้ของกองทัพต่อเยอรมัน ในปี 1870 และก็ ความคิดที่จะจัดงานแสดงสินค้านานาชาติ จึงเป็นหนทางอันยิ่งใหญ่เพื่อลืมความปวดร้าว และ เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ ความร่ำรวยของประเทศ จึงจำเป็นที่ต้องมีผลงานศิลปะชิ้นเอกที่อวดแก่ฝูงชน และจากความสำเร็จในยุคอุตสาหกรรมจึงนำเสนอความสำเร็จทางวิศวกรรม นั่นคือ หอคอย

หอคอยเหมือนเป็นสิ่งที่ชาญฉลาดทางเทคโนโลยี ในอดีตไม่เคยมีใครสร้างหอคอยที่สูงกว่า 1,000 ฟุต หลายคนพยายามลอง แม้กระทั่งในสหรัฐอเมริกาก็มีการออกแบบไว้อยู่หลายแบบ แต่ก็ไม่เคยสร้างจริงขึ้นมา ฝรั่งเศสได้จัดการประกวดเพื่อออกแบบหอคอย แบบแรกถูกเสนอโดย เวอร์ริส คล็อกลิน ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะวิศวกรของ กุสตาฟ ไอ-เฟล (Gustave Eiffel)

กุสตาฟ ไอเฟล เป็นทั้งสถาปนิกและวิศวกรชั้นนำของฝรั่งเศส ชื่อเสียงของเขาเกิดจาก การออกแบบสะพานที่เต็มไปด้วยจินตนาการ เขาค้นคว้าเกี่ยวกับแนวคิดในการออกแบบด้วยโครงสร้างโลหะ การที่มี กุสตาฟ ไอเฟล เข้ามาร่วมงาน จึงเป็นเครื่องรับประกันในเรื่องเงินทุนสนับสนุน และความสำเร็จของงาน วิศวกรหนุ่มของ กุสตาฟ ไอเฟล 2 คน คือ เวอร์ริส คล็อกลิน และ เอมิล นูลจิเย เริ่มแนวคิดในการสร้างหอคอยสูง 300 เมตร สำหรับงานแสดงสินค้าในปี ค.ศ.1890 ในปารีสเขาเริ่มร่างแบบโครงสร้างของหอ-
คอยอย่างคร่าวๆ และขอให้สถาปนิกชื่อ
สตีเฟน สเตาว์เธอร์ ออกแบบส่วนตกแต่งเพื่อเติม ซึ่งมีลักษณะเป็นช่อดอกไม้ โค้ง และมีปติมากรรมเล็กๆ น้อยๆ โดยมีแรงบันดาลใจมาจากแนวคิดทางสถาปัตยกรรมฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1887 ว่า สามารถสัมผัสกับท้องฟ้าในระดับที่เป็นไปไม่ได้ คือ 1,000 ฟุต

กุสตาฟ ไอเฟล ได้เห็นแบบแปลนและอนุมัติ เขาได้สนใจแนวคิดเกี่ยวกับหอคอยนี้ และได้ออกแบบส่วนตกแต่งเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาเข้าไปด้วย การมีชื่อ กุสตาฟ ไอเฟล อยู่ในโครงการ ทุกคนรู้ผลลัพธ์ของการแข่งขันนี้ การมีสายสัมพันธ์ทางการเมืองและสังคมของกุสตาฟ ไอเฟล ทำให้มีความพร้อมที่จะผลักดันให้โครงการผ่านหน่วยงานปกครองของปารีสได้อย่างรวดเร็ว และทำให้โครงการจากแบบแปลนสำเร็จเป็นจริงได้ หอคอยซึ่งออกแบบจากความก้าวหน้าในยุคอุตสาหกรรม เป็น งานที่มีความท้าทาทางวิศวกรรม และ กุสตาฟ ไอเฟล จะได้แสดงให้เห็นถึงความความคิดสร้างสรรค์ของเขาที่เคยใช้ในการออกแบบมาแล้ว

28 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1887 กุสตาฟ ไอเฟล ได้เชิญแขกมากมายมาเป็นพยานในการก่อสร้าง เขาอายุ 53 ปี และหอคอยจะเป็นความสำเร็จที่สมบูรณ์แบบของเขา ในขณะที่พิธีการเริ่มขึ้น วิศวกร 50 คนต้องช่วยกันร่างแบบ จำนวน 5,300 แผ่นสำหรับคนงาน 132 คน ใช้ในพื้นที่ก่อสร้าง ต้องใช้เวลา 4 เดือน ในการทำฐานรากสำหรับขาของหอ-
คอย
เสา 2 ต้น ถูกติดตั้งบนฐานคอนกรีตหนา 6 ฟุตครึ่ง ที่ความลึก 23 ฟุตจากระดับดิน และมีขา 2 ข้างที่ใกล้กับแม่น้ำแซนมาก จึงต้องใช้เขื่อนโลหะกันน้ำ ป้องกันในขณะที่ทำการเทคอนกรีตบนพื้นที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำ


หมุด 2 ล้าน 5 แสนตัว ที่ใช้ยึดโครงเหล็กของหอไอเฟล

บนพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัสของฐานหอคอยมีความกว้างด้านละ 426 ฟุต จะมีขาของหอคอยทั้ง 4 ในแต่ละด้าน รองรับน้ำหนักของโครงสร้างโลหะกว่า 7,000 ตัน บนฐานจะเป็นฐานก่ออิฐซึ่งจะฝังสมอยึด 2 ตัวสำหรับขาแต่ละข้าง จากฐานนี้ ขาจะถูกขึ้นเป็นมุม 60 องศาในลักษณะคานโครงเหล็ก คานนี้ประกอบไปด้วยท่อนเหล็กและเหล็กแผ่นที่ถูกยึดติดกันที่ด้านข้าง โครงสร้างที่ได้จะมีความเข็งแรงมาก แต่มีนำหนักเบา ประกอบง่าย ใช้มาตรฐานเดียวกัน และ มีราคาไม่แพง เมื่อประกอบเสร็จจะใช้ชิ้นส่วนโลหะทั้งหมด 18,000 ชิ้น และหมุดยึดอีก 2 ล้าน 5 แสน ตัว เพื่อประกอบเป็นหอคอย ทั้งหมดใช้เพียงเหล็กท่อนแบนและแผ่นเหล็กในการประกอบ

ขั้นตอนแรกของการก่อสร้าง ขาทั้ง 4 ต้นจะถูกสร้างขึ้นพร้อมกันและจะบรรจบกันที่ชั้นแรกของหอคอย ด้วยมุมที่มีความลาดชั้น จึงต้องติดตั้งคำยันที่ขาทั้ง 4 ต้น และติดตั้งคำยันตรงกลางของฐานหอคอยเพื่อรองรับคานในแนวศูนย์กลางที่จะยึดโครงสร้างต่างๆ เอาไว้ ที่ขาแต่ละข้างมีแม่แรงไฮโดรลิกที่สามารถปรับระดับความสูงได้อย่าง -อิสระ และ เพื่อให้ได้ความแม่นยำตามที่ต้องการ เมื่อขั้นตอนเหล่านี้เสร็จสิ้น กุสตาฟ ไอเฟล รู้ว่าไม่มีอะไรหยุดยั้งการบรรลุความฝันของเขาได้ หลายคนก็กลัวว่าหอคอยจะทำ-ลายทัศนียภาพของกรุงปารีส กลุ่มศิลปินหลายคนกล่าวโจมตีว่าเป็นการเอาเปรียบของยุคอุตสาหกรรม และเป็นโคมไฟที่น่าสมเพศที่ผลุดขึ้นมาจากปารีส กุสตาฟ ไอเฟล ได้โต้ตอบกลับอย่างรุนแรงว่า นี่คือสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดที่มนุษย์เคยสร้าง มันจะไม่มีความสง่างามในตัวของมันเองเลยหรือไร

วันที่ 2 เมษายน ค.ศ.1888 หอคอยขึ้นสู่ยอดฟ้าของกรุงปารีส เหมือนได้นำเอาจิตวิญญาณของฝรั่งเศสขึ้นไปด้วย ผู้คนชื่นชอบมัน จากการออกแบบโครงร่างอย่างคร่าว
บัดนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์อันลื่นไหล ความอ่อนช้อยของโครงสร้าง ส่วนโค้ง แนวประดับต่างๆ ทำให้มีความรู้สึกที่ตรงข้ามกับแนวหมุดที่ยึดเปลือย และหยาบกระด้าง
นี่เป็นงานศิลปะที่จะบอกให้โลกรับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่

กุสตาฟ ไอเฟล เป็นคนแรกที่เดินขึ้นบันได 1,710 ขั้น เพื่อขึ้นไปที่จุดสูงสุดของหอคอย แล้วแขวนธงชาติ 3 สีของฝรั่งเศส มีการเปิดงานแสดงสินค้าในปี ค.ศ.1889 ในกรุงปารีส งานชิ้นเอก คือหอคอยที่สูงกว่า 300 เมตรที่งดงาม และในที่สุดมันจะเป็นที่รู้จักในนาม หอไอเฟล

ตอนแรกหอคอยถูกเรียกว่า หอคอยแห่ง 320 เมตร , หอคอย 320 เมตร ต่อมามันก็กลายเป็น หอไอเฟล หอไอเฟลถูกวางในพื้นที่ราบเรียบของปารีส และก็ ทำรายได้มหาศาลให้กับ กุสตาฟ ไอเฟล เนื่องจากความมั่นใจถึงความสำเร็จของเขา กุสตาฟ ไอเฟล ได้ออกเงินในการก่อสร้างกว่า 80% และทำสัญญาเป็นผู้ดูแลหอนี้เป็นเวลา 20 ปี กุสตาฟ ไอเฟล มีห้องพักอยู่บนหอคอย ที่ซึ่งเขาทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และพบปะแขกคนสำคัญ ในปีแรก นักท่องเที่ยวกว่า 2 ล้านคน เดินทางขึ้นลิฟท์เพื่อชมทัศนียภาพของปารีสบนยอดหอคอย ก่อให้เกิดรายได้กว่า 1 ล้านดอลลาร์

กุสตาฟ ไอเฟล มีรายได้มาจากหอไอเฟลมาก เขาอาจเป็นวีรบุรุษของฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1889 แต่อีก 1 ปี หลังจากนั้นเขาถูกตัดสินให้มีความผิด ในการหากำไรกับความล้มเหลวของฝรั่งเศสในการก่อสร้างคลองปานามา โครงการนี้เป็นความฝันของวิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ เฟอร์ดินาน เดอ เลเซต ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างคลองสุเอด และตั้งใจจะทำเช่นนี้อีกในปานามา เดอ เลเซต ได้เชิญ ไอเฟล มาให้คำแนะนำในทางวิศวกรรมในการสร้างทางน้ำผ่านป่าทึบ ไอเฟล ได้เสนอแนวคิดระบบปิดกันน้ำแบบใหม่ แต่ เดอ เลเซต ไม่เห็นด้วย ผลที่ตามมาคือหายนะ การขุดคลอดไม่สามารถทำผ่านป่าทึบได้ รัฐบาลฝรั่งเศสแทบล้มลาย ผลกรทบทางการเมืองรุนแรงมาก ผู้ที่เกี่ยวข้อถูกประนาม- และ ไอเฟลก็ถูกตัดสินจำคุก 24 เดือน ซึ่งภายหลังถูกยกเลิก แต่บัดนี้ ไอเฟล ก็หมดความปรารถนาในการก่อสร้าง และไม่ได้สร้างอะไรอีกเลย

ขณะนั้น ไอเฟล มีอายุ 73 ปี และได้อุทิศตนให้กับงานด้านวิทยาศาสตร์ โดยให้ความสำคัญกับการค้นคว้าเกี่ยวกับ อากาศพลศาสตร์ และ ได้สร้างห้องทดลองของตนขึ้นและ ยังคงเปิดทำการจนถึงทุกวันนี้ กุสตาฟ ไอเฟล ทดสอบแรงต้านทานของลมเป็นครั้งแรก เพราะตลอดเวลาการทำงานที่ผ่านมาของเขา ลมคือศัตรูหมายหนึ่ง ในช่วง ค.ศ.
1906-1909
ไอเฟล ตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับอากาศพลศาสตร์ และได้สร้างอุโมงค์ลมขึ้นเป็นแห่งแรก และเป็นจุดกำเนิดของการศึกษาด้านการบินของฝรั่งเศส

กุสตาฟ ไอเฟล เป็นวิศวกรที่ยอดเยี่ยมและเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ในการสร้างหอคอยสูง 300 เมตร ในตอนแรกมีความตั้งใจว่าหอคอยนี้ จะมีอายุการใช้งานเพียง 20 ปี เขาเริ่มคุ้นเคยกับสถานะภาพชั้นสูงของปารีส และต่อมาเขาพยายามอย่างมากในการรักษาหอคอยเอาไว้ วิทยุเป็นสิ่งที่รักษาหอคอยเอาไว้ เนื่องจากความสูงของมัน สัญญาณวิทยุสา -มารถส่งไปถึงอเมริกาเหนือได้ ถึงแม้ต่อมาก็มีคำสั่งให้รื้อทิ้งในปี ค.ศ.1909 แต่หอไอเฟลก็รอดพ้นมาได้ โดย ช่วยเป็นเสาวิทยุให้ฝรั่งเศสติดตามสงคราม ที่กำลังก่อตัวขึ้นในเยอรมนี

ในปี ค.ศ.1914 สงครามโลกครั้งที่ 1 ก็เริ่มขึ้น ผลกระทบแผ่ขยายไปทั่วยุโรป สำหรับปารีสนั้น ความขัดแย้งอยู่ใกล้มาก จนทหารต้องนั่งแท็กซี่ไปยังแนวหน้า แต่ด้วย -ความช่วยเหลือของหอไอเฟลนั้น ก็ช่วยให้บรรดา นายพลทำการดักฟังฝ่ายศัตรูและแจ้งเตือนภัยจากเรือเหาะได้

ในปี ค.ศ.1923 หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ 5 ปี กุสตาฟ ไอเฟล ได้เสียชีวิตลง ตลอดอายุ 91 ปี วิสัยทัศน์ของเขาได้ผลักดันให้ฝรั่งเศสอยู่ในแถวหน้าของ -เทคโนโลยี การออกแบบและโครงสร้างของเขาเป็นบทนำสู่พื้นฐานสู่ศตวรรษที่ 20 หอไอเฟลยังคงยืนหยัดมาได้ เป็นหอที่เกิดจากการถักทอของโลหะ และ อากาศภายใน เกิดความรู้สึกที่ว่างเปล่า ความแข็งแกร่งของหอคอย เหมือนเป็นโซ่ที่เชื่อมระหว่างศตวรรษที่ 19 และ 20 เข้าไว้ด้วยกัน รอยต่อซึ่งจะถูกทำลายอย่างเหี้ยมโหดด้วยลัทธิชาตินิยม การเหยียดเผ่าพันธุ์ ประทุออกจากความพ่ายแพ้ของเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

พฤษภาคม ค.ศ.1940 ท่ามกลางการโจมตีอย่างสายฟ้าแลบของกองทัพนาซี ปารีสและหอไอเฟลถูกตกเป็นเชลย แต่กองทัพเยอรมันพบอุปสรรค์ในการใช้ประโยชน์จากหอไอเฟล เนื่องจากชาวฝรั่งเศสทำลิท์เสียหาย ทำให้ฮิตเลอร์ไม่สามารถขึ้นไปบนหอคอยได้

ชาวปารีสมีความโกรธแค้นต่อนาซีมาก กลุ่มปลดปล่อยฝรั่งเศสได้วางแผนกันอย่างลับๆ ในสุสานใต้ดินของชาวโรมันใต้ท้องถนนของกรุงปารีส ที่เป็นอุโมงค์ที่เชื่อมไปทั่วปารีส ทำให้การเดินทางไปที่ต่างๆ ไม่สามารถตรวจพบได้ กลุ่มต่อต้านได้ช่วยทำให้รถไฟขนส่งทหารตกรางซึ่งวิ่งอ้อมกรุงปารีสอยู่ ฮิตเลอร์นั้นมีความรู้สึกเกลียดชังกลุ่มปลดปล่อยนี้มาก ขณะที่สงครามยุติ เขาได้ออกคำสั่งให้ระเบิดหอคอยนี้ทิ้ง แต่นายพล ฟรอน โทริส ผู้ซึ่งตกหลุมรักกรุงปารีสได้ยกเลิกคำสั่งนี้โดยพลการ

การยกพลขึ้นบกในวัน D-Day ที่ชายฝั่งฝรั่งเศสของเหล่ากองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อการปลดปล่อยฝรั่งเศส และกองทัพรถถังอเมริกัน ก็ได้ขับไล่พวกนาซีออกจากหอไอเฟล รัฐบาลฝรั่งเศสอยู่ในช่วงล่มลาย ในปี ค.ศ.1945-1960 ผู้คนชาวฝรั่งเศสออกเสียงเลือกตั้งคณะรัฐบาลที่แตกต่างกันถึง 20 คณะ มันเป็นความยุ่งเหยิงทางการเมือง -
จนกระทั่ง
นายพลเดอกอล ถูกเชิญชวนให้เป็นผู้นำประเทศภายหลังสงคราม บุคคลที่เข็มแข็งและมีความดึงดูดเท่านั้นที่จะรวบรวมประเทศ และคืนจิตวิญญาณให้กับฝรั่งเศสได้อีกครั้งหนึ่ง จิตวิญญาณของประเทศ ได้รับการปกป้องเสมอมา ภายในกรงเหล็กของหอไอเฟล หอไอเฟลต้องการการดูแลรักษา หากต้องการให้มันยังคงอยู่ต่อไป

มันถูกออกแบบให้เป็นผลงานชิ้นเอกในงานแสดงสินค้านานาชาติในปี ค.ศ.1889 บัดนี้นับกว่า 1 ศตวรรษการฉลองยังคงดำเนินต่อไป ขณะที่ผู้คนมากกว่า 1 พันคนได้มา
เยี่ยมชมหอไอเฟลทุกๆ ชั่วโมง
โดยมีลิฟท์ 4 ตัว ลิฟท์ 1 ตัวต่อ 1 ขา เคลื่อนที่ทำมุม 60 องศา หัวใจสำคัญในการเคลื่อนที่อยู่ภายใต้ขาหอคอยภายในสุสานใต้ดินนับร้อยปี -
โดยใช้น้ำภายใต้แรงดันเป็นตัวขับลูกสูบไปผลักล้อเลื่อนให้ดึงสายเคเบิลขึ้นไป
เทคโนโลยีอายุร้อยปีถูกหล่อลื่นด้วยไขมันแกะและยังทำงานได้อย่างดี และลิฟท์ที่ชั้น 3 จะขนผู้โดยสายขึ้นไปบนยอดหอคอย

ที่บนสุด งานบำรุงรักษาดำเนินงานทุกวัน กลุ่มคนงาน 25 คนจะเดินไปตามนั่งร้านเหล็ก ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินงาน 18 เดือน ในการทาสีหอคอย ได้ใช้สีมากกว่า 50 ตัน - งานที่ต้องทำซ้ำๆ ในทุกๆ 7 ปี ไม่เพียงแต่ช่างทาสีที่อยู่บนหอคอยนี้เท่านั้น ช่างไฟฟ้าก็เดินดูตรวจตราหอคอยนี้ด้วยเหมือนกัน เพราะมันจะต้องมีแผงทำความร้อนเพื่อควบคุมอุณหภูมิน้ำในท่อไม่ให้แข็งเพื่อป้องกันไม่ให้ท่อแตกเมื่ออุณหภูมิต่ำว่า -40 องศาฟาเรนไฮด์ และต้องดูแลหลอดไฟ 360 หลอด ซึ่งได้รับการตรวจสอบ และทำการเปลี่ยนเป็น-ประจำ เพื่อความสวยงามของหอคอย สีทีทาบนหอไอเฟล จะมีโทนสีเหลือง และการที่ถูกส่องด้วยไฟสีเหลือง ก็จะช่วยให้หอไอเฟล ถูกขับออกมาให้เด่นชัดมากขึ้น การให้แสงสว่างก็เพื่อให้หอไอเฟลเป็นดาวเด่นแห่งกรุงปารีส

ท้องฟ้าสีกุหลาบยามเย็น กัดสีผนังลายหินอ่อนของสถาปัตยกรรมในปารีส หอไอเฟลก็ยังคงตั้งอยู่ในฐานะของความมหัศจรรย์ทางเทคโนโลยี ความสำเร็จทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม เป็นสัญลักษณ์แห่งกรุงปารีส และ เป็นยังคงเป็นจิตวิญญาณของฝรั่งเศสเรื่อยไป


ทัชมาฮาล

ทัชมาฮาล..อณุสรณ์แห่งความรัก

สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคปัจจุบัน


ทัชมา ฮาล ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ประเทศอินเดียสภาพปัจจุบัน สมบูรณ์ดี ทัชมาฮาล อนุสาวรีย์แห่งความรัก กล่าวกันว่า ความรักนั้น เป็นสิ่งที่ทรงอำนาจที่สุดในโลก และสามรถที่จะสามารถบันดาลให้กลายเป็นความงดงาม หรือความเลวร้ายที่สุดในโลกได้
" ทัชมาฮาล"เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ที่งดงามที่สุดชิ้นหนึ่งของโลกเกิดขึ้นโดยอนุ ภาพของความรักบันดาลให้เป็น ปัจจุบันยังตั้งตระหง่านท้าสายตาชาวโลกอยู่ ณริมฝั่งแม่น้ำ ประเทศอินเดีย อนุสาวรีย์แห่งความรัก "ทัชมาฮาล" นี้ สร้างเมื่อปีค.ศ. 1631 สร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1648 รวมเวลาการก่อสร้าง 17 ปี การประดับตกแต่งใช้เวลา 5 ปี รวมทั้งสิ้น 22 ปี จึงเสร็จเรียบร้อยทุกอย่างใช้งบประมาณการก่อสร้างถึง 30 ล้านรูปี ใช้คนงานจำนวน 2 หมื่นคน กษัตริย์ชาห์ชะฮานแห่งราชวงศ์โมกุล เป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุศพของมเหสีสุดที่รัก ชื่อ มุมทัชมาฮาล
ตามประวัติ เล่าว่า มุมทัชมาฮาล เป็นผู้หญิงที่งดงามมีเสห่น์ที่สุดในโลก นามเดิมว่า อรชุมันต์ภานุเบคุม เป็นบุตรของท่านอสัฟข่าน มารดาชื่อ ทิจันเบคุม อสัฟข่าน มุมทัชมาฮาล เกิดเมื่อ ค.ศ. 1592 เธอสนใจวิชาวรรณคดี ถนัดวิชาวาดเขียนและดนตรีมาก ได้สมรสกับชาห์ชะฮาน ขณะที่เธออายุ 19 ปี อยู่กินกันถึง 18 ปี มีบุตรชาย 8 คน บุตรหญิง 9 คน แต่มีชีวิตอยู่เพียง 5 คน เธอถึงแก่กรรมลงขณะคลอดลูกสาวคนสุดท้องชื่อ เกาษะนารา ตลอดเวลา 18 ปี มุมทัชมาฮาล เป็นภรรยาที่แสนประเสริฐเป็นที่รักของชาน์ชะฮาน เธออยู่ข้างสามีตลอดเวลาไปไหนไปด้วยกัน แม้ว่าจะออกทัพจับศึกก็ตามไปให้กำลังใจเสมอ มุมทัชมาฮาล จูงใจให้กษัตริย์ชาห์ชะฮานบังเกิดความรัก ความเมตตา โดยการช่วยเหลือคนยากจน คนพิการ และคนที่ประสบความทุกข์ลำบาก ซึ่งคุณสมบัตินี้ ทำให้กษัตริย์ชาห์ชะฮานรักเธอ ตรึงใจในเธอ ตรึงใจในเธอมิรู้ลืม วาระสุดท้ายที่มุมทัชมาฮานมเหสีสุดที่รักของกษัตริย์ชาน์ชะฮานจะจากไปอย่าง ไม่มีวันกลับ กษัตริย์ชาห์ชะฮานยกทัพไปปราบกบฏข่านชะหานโลดีที่เดกคานโดยมีมุมทัชมาฮา ลติดตามไปให้กำลังใจสามีด้วย ทั้งๆที่เธอตั้งท้องแก่ เมื่อกษัตริย์ชาห์ชะฮานปราบกบฏราบคาบแล้ว ก็กลับเมืองมุระหันปุระ มุมทัชมาฮาลเจ็บท้องคลอดลูกคนสุดท้าย พอเธอคลอดแล้วเธอตกเลือดมากอยู่เพียงชั่งโมงเดียวก็สิ้นใจในอ้อมกอดของ กษัตริย์ชาห์ชะฮาน ก่อนที่มุมทัชมาฮาลจะสิ้นใจเธอได้ขอร้องสามี 2 ข้อด้วยกัน คืออย่าให้กษัตริย์ชาห์ชะฮานมีภรรยาใหม่ และขอให้กษัตริย์ชาห์ชะฮานสร้างอนุสาวรีย์ที่ฝั่งศพของเธอให้งดงาม เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกให้ได้ กษัตริย์ชาห์ชะฮานรับปากที่จะปฏิบัติตามทุกอย่าง เยี่ยงสามีที่รักภรรยาอย่างสุดชีวิตทั้งหลาย ในครั้งแรกศพของมุมทัชมาฮาลฝังไว้ที่เมืองมุระหันปุระ เพื่อเตรียมเคลื่อนย้ายไปสู่นครอัคระ จนกระทั่งต่อมาอีก 6 เดือนกษัตริย์ชาห์ชะฮานได้สั่งให้เคลื่อนย้ายศพของเธอไปบรรจุไว้ที่หลุมฝั่ง ศพในสวนราชาฃัยสิงห์ แห่งนครอัคระโดยสร้างศาลาชั่วคราวไว้เหนือหลุมศพ เล่ากันว่า ในวันเคลื่อนศพมุมทัชมาฮาลมายังนครอัคระนี้ ได้จัดริ้วขบวนเกียรติยศยิ่งใหญ่มากเจ้าชายสุชาโอรสองค์ที่สองของกษัตริย์ชา ห์ชะฮาน นำขบวนประยูรญาติเดินตามพระศพ มีการโปรยทานตลอดทาง นับแต่มุมทัชมาฮาลสิ้นชีวิต กษัตริย์ชานห์ชะฮานหมกมุ่นอยู่ในความทุกข์ตลอดเวลา มิได้ยิ้ม มิได้หัวเราะ โดยเฉพาะมิได้สนใจต่อร่างกายปล่อยเนื้อปล่อยตัว จนผมดำกลายเป็นผมขาวทั้งศีรษะ ทุกวันกษัตริย์ชาน์ชะฮานนุ่งขาวห่มขาว ไปนั่งรำพันถึงมุมทัชมาฮาลข้างหลุมศพ บางครั้งกอดหลุมศพรำพันอย่างเสียสติ กษัตริย์ชาห์ชะฮาน ได้โปรดนำเงินหนึ่งแสนรูปีออกทำบุญแผ่กุศลแก่มุมทัชมาฮาลจากที่เธอจากไปเป็น เวลา 3 ปี ในปี ค.ศ. 1631 กษัตริย์ชานห์ชะฮานโปรดให้สร้างอนุสาวรีย์ใหญ่ เป็นที่ฝั่งศพของมุมทัชมาฮาลโดยเลือกบริเวณฝั่งขวาแม่น้ำยมนา ตอนโค้งที่สวยงามและเหมาะที่สุด โดยที่นี่เดิมเป็นสวนของขุนนางผู้ใหญ่หลายท่าน มีเนื้อที่ 125 ไร่ ครั้งแรกกษัตริย์ชานห์ชะฮานให้ทำรูปจำรองก่อนด้วยไม้ เมื่อรูปจำรองพอใจแล้ว จึงมีการลงมือสร้างด้วยหินอ่อนขาวชนิดเยี่ยมทั้งสิน สถาปนิกที่ออกแบบก่อสร้างอนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่ กษัตริย์ชาห์ชะฮานได้เชิญสถาปนิกเอกทั่วอินเดีย และประเทศเตอร์กีเปอร์เซีย ซึ่งเป็นพันธมิตรกัน ผู้ที่มีฝีมือยอดเยี่ยมซึ่งกษัตริย์ชาน์ชะฮานคัดเลือกคือ มุหะมัด อิซเอฟันดี ชาวเตอรกี โดยมี มุหะมันชารีฟแห่งแคว้นซามาระกันต์ เป็นผู้ช่วย ทั้งสองได้รับเงินเดือนๆละ 1 พันรูปี มุหะมัด ฮานนีฟ แห่งอัคร เป็นผู้อำนวยการสร้างฝ่ายวิศวกรอิสไมล์ข่าน แห่งเตอรกี เป็นผู้สร้างโดมมโนสิงห์ แห่งละโฮว์ มันสิฑาร์ แห่งมุลตาล โหันลาล แห่งกาเนาร์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายตกแต่ง อมานัข่าน แห่งเปอร์เซีย และมุหะมัดข่าน แห่งแบหแดด เป็นผู้ประดิษฐ์อักษรจารึก ซาดสมานิ ข่าน แห่งอาหรับเป็นผู้อำนวยการฝ่ายศิลปะทั่วไป อมตามูหะมัก แห่งมอคารวา เป็นนานช่างแกะสลั อับดุลสะ แห่งเมืองเดลี มุหะมัด สัจจะ แห่งเมืองบอล์ซ และสกุลลา แห่งเมืองมุลตาน เป็นช่างก่ออิฐ พลเทพพาส อมีร์อาลีราษันข่าน แห่งมุลตาน เป็นผู้สลักดอกไม้ อับดุล การิบ และมาการะมัดข่าน เป็นผู้สร้างที่ฝั่งศพ มุฮัมมัดอิชา ออกแบบอนุสาวรีย์ โดยอาศัยเค้าโครงจากที่ฝั่งศพของหูมายูนที่เมืองนิวเดลี
วัสดุก่อสร้างทั้งหลายมาจากที่ต่างๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. หินอ่อน ได้จากเมืองชัยปุร
2. ศิลาแลง จากฟาเตปุรริขรี
3. พลอยสีฟ้า จากธิเบต
4. พลอยสีเขียว จากอียิปต์
5. หินสีฟ้า จากคัมภัย
6. โมรา จากคัมภัย
7. เพชร จากเมืองฟันนา
8. หินทองแดง จากรัสเซีย
9. หินทราย จากแบกแดด
นอกจาก นี้ยังมีเครื่องประดับจากมิตรประเทศอีกหลายแห่ง สถานที่ก่อสร้างแรกที่เดียวสร้างเป็นนิคมให้คนงานอยู่ ชื่อว่า มุมทัชชาบัด ปัจจุบันยังมีซากเหลืออยู่บ้าง เรียกว่า ตาจกันซ์ ทุกคน ทุกฝ่ายทุ่มเทสุดความสามารถทุ่มเทชีวิต สร้างอนุสาวรีย์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพื่อถวายความจงรักภักดีต่อมุมทัชมาฮาล ผู้เคยให้ความเมตตากรุณาต่อพวกเขาอย่างยิ่ง ในขณะที่เธอยังมีชีวิตอยู่ ยิ่งประณีตวิจิตรบรรจงเท่าใด ก็เป็นการถวายความจงรักภักดีมากเท่านั้น อนุสาวรีย์มุมทัชมาฮาลสำเร็จเสร็จสิ้นลงอย่างงดงาม หลังใช้เวลาในการก่อสร้างตกแต่งทั้งสิ้นถึง 22 ปี
หีบศพ ของมุมทัชมาฮาลถูกเคลื่อนย้ายมาประดิษฐานอยู่ในห้องใต้ดินบริเวณโดม และบิเวณโดมมโนสิงห์ซึงปรากฏหีบศพของมุมทัชมาฮาล และของกษัตริย์ชาห์ชะฮาน ประดิษฐานอยู่นั้นเป็นหีบศพจำลอง กษัตริย์ชาห์ชะฮาน เฝ้าระทมเพราะการจากไปของมุมทัชมาฮาล มเหสีสุดที่รักอยู่เป็นเวลา 36 ปี ก็พอดีเกิดศึกกลางเมืองมีการแย่งชิงราชบัลลังก์ขึ้นระหว่างพระโอรสของ กษัตริย์ชาห์ชะฮานเอง กษัตริย์ชาห์ชะฮานถูกจับไปขังไว้ที่ป้อมใหม่เมืองอัคระเอารังเซบ โอรสของกษัตริย์ชาห์ชะฮานขึ้นครองบัลลังก์แทนกษัตริย์ชาห์ชะฮานได้สวรรคตที่ ป้อมแห่งนี้ ก่อนสิ้นใจได้ขอให้ชาราพาประคองศีรษะของพระองค์ขึ้น ให้มองเห็นภาพทัชมาฮาล เพื่อระลึกถึงยอดรักของพระองค์ในนาทีสุดท้าย เอาวังเซบราชโอรสจึงได้นำพระศพของพระบิดามาประดิษฐานไว้เคียงข้างพระศพของ มุมทัชมาฮาล ณ อณุสาวรีย์ที่สวยที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุด มหัสจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และสถิตอยู่ให้โลกพิศวงกระทั่งปัจจุบันนี้ จัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกยุคปัจจุบัน

โมนาลิซ่า

โมนาลิซา (อังกฤษ: Mona Lisa) หรือ ลาโชกงด์ (ฝรั่งเศส: La Gioconda, La Joconde) คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่าง พ.ศ. 2046 (ค.ศ. 1503) ถึงปี พ.ศ. 2050 (ค.ศ. 1507) เป็นภาพที่ทั่วโลกรู้จักกันดีภาพหนึ่ง ในฐานะสุภาพสตรีที่มี รอยยิ้มอันเป็นปริศนา ที่ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์(Musée du Louvre) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ที่มาของชื่อ

คำว่า'โมนาลิซา" นั้น ได้ถูกตั้งขึ้นโดย จอร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) ศิลปิน และนักชีวประวัติชาวอิตาลี หลังจากดา วินชีได้เสียชีวิตไป 31 ปี ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์นั้นได้บอกไว้ว่าผู้ที่นั่งอยู่ในรูปนั้นคือ ลีซา เกอราร์ดีนี ภรรยาของขุนนางนักธุรกิจผู้มั่งคั่ง ชาวเมืองฟลอเรนซ์นามว่า ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด (Francesco del Giocondo)

คำว่า โมนา" (Mona) ในภาษาอิตาลีนั้นก็คือคำว่า มาดอนนา (madonna) คุณผู้หญิง (my lady) หรือ มาดาม (Madam) ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นความหมายของชื่อนั้นก็คือ "มาดาม ลิซา" แต่ในปัจจุบัน บางครั้งก็จะใช้คำว่า มอนนา ลิซา (Monna Lisa)

ประวัติ

ภาพโมนาลิซ่านี้ถูกวาดโดย ดา วินชี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2046 ถึง พ.ศ. 2050 ใช้เวลานานถึง 4 ปีในการวาด

ในปี ค.ศ. 1516 (พ.ศ. 2059) ดา วินชีได้นำภาพจากอิตาลีไปที่ฝรั่งเศส ด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ที่ทรงปรารถนาที่จะให้ศิลปินทั้งหลายมารวมตัวทำงานกันที่ Clos Lucé ใกล้กับปราสาทใน เมืองอัมบัวส์ และยังทรงให้ ดา วินชี วาดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงซื้อภาพโมนาลิซ่า ในราคา 4,000 เอกือ

ในปี ค.ศ. 1519 (พ.ศ. 2062) ดา วินชี ได้เสียชีวิตที่เมืองอัมบัวส์ ประเทศฝรั่งเศส รวมอายุได้ 63 ปี

ใบหน้าของมาดามลิซ่า

ในช่วงแรก ภาพโมนาลิซ่าถูกนำไปเก็บไว้ที่ พระราชวังฟงเตนโบล ต่อมาก็ในพระราชวังแวร์ซาย หลังจากสิ้นสุดการปฏิวัติฝรั่งเศส ก็ถูกไปนำเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ในห้องสรงของพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ในพระราชวังตุยเลอรี แล้วในที่สุดก็ได้กลับมาที่พิพิธภัณฑ์เหมือนเดิม

ห้องแสดงในพิพิธภัณฑ์

ในช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ระหว่างปี พ.ศ. 2413 - 2414 ภาพได้ถูกนำออกจากพิพิธภัณฑ์ ไปซ่อนไว้ในที่ลับในประเทศฝรั่งเศส

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ภาพโมนาลิซ่าถูกโจรกรรมออกจากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกว่าจะค้นพบเธอก็ได้ใช้เวลาไปถึง 2 ปี ซึ่งได้พบในเมืองฟรอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ปัจจุบันเธอถูกดูแลรักษาอย่างดี ในตู้กระจกปรับอากาศกันกระสุน พิพิธภัณฑ์ลูฟร์

ภาษาสวีดิช

ภาษาสวีดีส พยัญชนะ หรือ อักษรจะมีทั้งหมด 29 ตัว เพิ่มมาจากภาษาอังกฤษที่เราคุ้นเคย 3 ตัวด้วยกัน

อักษรภาษาสวีดิส

A

a

ออ

ออ อา อะ

B

b

เบ

C

c

เซ

(ค)

D

d

เด

E

e

เอ

เอีย เอะ

F

f

เอฟ

G

g

เก

H

h

โฮ

I

i

อี

อิ อี

J

j

หยี

K

k

โค

L

l

เอล

M

m

เอ็ม

N

n

เอ็น

O

o

อู

โอะ อุ โอ อู

P

p

เพ

Q

q

คูว

คว กล้ำ

R

r

แอรร

, รร

S

s

เอส

T

t

เท

U

u

อูว์

อุ อึ อู

V

v

เว

W

w

ดูบเบิลเว

ไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน

X

x

เอ็กซ์

Y

y

อวี๋

อิ อี

Z

z

แซตต่ะ

Å

å

โอ

โอ

Ä

ä

แอ

แอ

Ö

ö

เออ

เออ

ตัว ง ใช้ ng เหมือนภาษาอังกฤษ

โดยทั่วไปสระจะออกเสียงเป็นเสียงยาวเป็นหลักสำหรับพยางค์แรก และจะออกเสียงสั้นเมื่อมีพยัญชนะตัวเดียวกัน 2 ตัวซ้อนกันอยู่ด้านหลังสระ หรือคำคำนั้นเป็นพยางค์หลัง เช่น ck ll gg mm pp ss tt ตัวอย่าง Katt อ่านว่า คัต แปลว่า แมว

การออกเสียง K ปกติออกเสียง ค เช่น Katt (คัท), koja (โค่ยยะ)



แต่ถ้ามัน ตามหลังด้วยสระ e i y ö ä จะออกเสียงเป็น ช เช่น kär (แช ร) , kyl (ชีล) , kör(เชอ ร)
สระผสม sk ปกติ จะออกเสียงเหมือนอักษรควบธรรมดาเหมือนภาษาไทย คือออกเสียงทีละตัว คือ สค แต่เมื่อ k ไม่ได้อยู่ตัวแรกเลยมักจะออกเสียง เป็น ก กลายเป็น สก เช่น ska (สกอ) , sko(สกู)
แต่ ถ้า sk ตามหลังด้วยสระ e i y ö ä จะออกเสียงเหมือนการขากเสลด(แบบที่คุณเรียกว่าเป็น ฮ ค่ะ จริงๆ ไม่ใช่ ฮ) เช่น sked, skidor, sky , skörd , skär
เมื่อ K อยู่กลางคำมันจะออกเสียงเป็น ก ค่ะ เช่น kaka (ค่อก๊ะ) (ทุกหลักย่อมมีข้อแม้ แต่รู้หลักไว้ดีกว่าไม่รู้)